ทนายความจังหวัดอุบลราชธานี 081 538 2404, 082 377 2404

ทนายความจังหวัดอุบลราชธานี 081 538 2404, 082 377 2404

เปิดหน้าต่อไป

รู้จักทนาย รู้กฎหมาย ไม่เสียเปรียบ

หัวข้อรู้จักทนายไม่เสียเปรียบ

  1. รู้จักทนายความกรุงเทพมหานคร
  2. รู้จักทนายความภาคกลาง
  3. รู้จักทนายความภาคเหนือ
  4. รู้จักทนายความภาคอีสาน
  5. รู้จักทนายความภาคใต้
  6. รู้จักทนายความภาคตะวันออก
  7. รู้จักทนายความภาคตะวันตก

หัวข้อรู้กฎหมายไม่เสียเปรียบ

  1. รู้กฎหมายที่ดิน
  2. รู้กฎหมายอาวุธปืน

1. รู้กฎหมายที่ดิน

  กฎหมายเรื่องที่ดิน
◦ 1. มีที่ดิน ไม่ดูแล เจ้าของแท้ก็หมดสิทธิ
◦ 2. วิธีแก้ปัญหา ซื้อที่ดินตาบอด
◦ 3. กรรมสิทธิ์คืออะไร
◦ 4. การครอบครอบปรปักษ์ที่ดิน
◦ 5. ที่ดินตาบอด
◦ 6. สิทธิของการซื้อทรัพย์โดนสุจริตในท้องตลาด
◦ 7. การสร้างที่อยู่อาศัยที่ที่ดินของคนอื่นโดยไม่สุจริต
◦ 8. บ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนที่ดิน
◦ 9. ความหมายของคำว่า ทรัพย์หรือทรัพย์สิน
◦ 10. สีของพญาครุฑ บอกอะไร
◦ 11. เจ้าหนี้เงินกู้ยึดโฉนดไว้ เอาคืนได้มั้ย
◦ 12. ซื้อที่ดิน สปก.
◦ 13. ขายฝากอย่างไรไม่เสียเปรียบ
◦ 14. หมุดเขตเดินได้
◦ 15. จำนองที่ดินเป็นหลักประกันหนี้
ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com 
***************************

1. มีที่ดิน ไม่ดูแล เจ้าของแท้ก็หมดสิทธิเจ้าของที่ดินจำนวนมากอาจไม่รู้ว่ามีที่ดินอยู่ตรงไหนบ้าง หรือไม่ดูแล และปล่อยทิ้งร้างมานาน หากภายหลังปรากฏว่ามีคนเข้ามาครอบครอง อย่างสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันนานถึง 10 ปี โดยที่เจ้าของที่ดินเดิม ไม่เคยเข้ามาป้องกันหรือขัดขวาง ที่ดินดังกล่าวก็จะตกเป็นของบุคคลอื่นที่เข้ามา ครอบครอง หรือตามที่รู้จักกันว่าการครอบครองแบบปรปักษ์ เป็นไปตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382เพราะฉะนั้นมีที่ดินต้องดูแล ไม่เช่นนั้นถึงเป็นเจ้าของที่ดินแท้ๆ ก็หมดสิทธิ โดยไม่รู้ตัวได้
ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่เวปไซต์นี้ www.ใกล้คุณ.com 
***************************

2. วิธีแก้ปัญหา ซื้อที่ดินตาบอดหลายคนอาจจะประสบปัญหาว่าที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ ถูกล้อมด้วยที่ดินแปลงอื่นอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้หรือมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ไม่สะดวก เช่น จะต้องข้ามบึง แม่น้ำ ทะเล หรือที่ลาดชัน โดยระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากหากเจอกับกรณีนี้ เจ้าของที่ดินตาบอด สามารถขอสิทธิเปิดทางจำเป็น ผ่านที่ดินแปลงอื่นซึ่ งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ และอาจต้องใช้ค่าทดแทน แก่เจ้าของที่ดินที่ผ่านด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 
***************************

3. กรรมสิทธิ์คืออะไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ได้ให้สิทธิแก่ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งมีสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนเองในการจำหน่ายได้รับดอกผล ติดตามเอาคืนทรัพย์สินนั้นจากบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือเอาไว้รวมทั้งขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามเจ้าของทรัพย์สินนั้นก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเช่นเดียวกัน เพราะการเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์นั้น ในบางกรณีก็ต้องตกอยู่ในข้อจำกัดสิทธ์ของกฎหมาย และในบางกรณีก็ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นในการใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินของตนด้วย
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com 
*****************************

4. การครอบครอบปรปักษ์ที่ดินตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี สำหรับสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์โดยปกติมักเข้าใจว่าการครอบครองปรปักษ์มีได้เฉพาะที่ดินเท่านั้น แต่ในความจริงการครอบครองปรปักษ์นั้น มีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ แต่ต่างกันเฉพาะระยะเวลาการครอบครอง เหตุที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ ก็เพราะกฎหมายมีความประสงค์ที่จะให้เจ้าของทรัพย์ เช่น ผู้มีที่ดิน มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทำประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์ของตน มิใช่ปล่อยปะละเลยไม่ดูแลทำประโยชน์ หากมีผู้อื่นเข้าครอบครองทำประโยชน์โดยสงบ เปิดเผยและแสดงความเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาตามที่กฎหมายกำหนดบุคคลที่ครอบครองนั้น ก็จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นซึ่งเป็นการได้มาโดยผลแห่งกฎหมาย ดังนั้นผู้ที่มีทรัพย์จะต้องหมั่นดูแลทรัพย์สินของตน รวมทั้งทำประโยชน์ตามสมควรด้วยมิฉะนั้นท่านอาจเสียสิทธิ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com 
***********************

5. ที่ดินตาบอดที่ดินตาบอด เป็นภาษาที่นิยมพูดกัน กล่าวคือ เป็นที่ดินของบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินแปลงอื่นของเจ้าของอื่นจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งกฎหมายได้ให้สิทธิ์ผู้ที่มีที่ดินที่ถูกล้อมรอบนั้น มีสิทธิ์ผ่านที่ดินที่ถูกล้อมรอบออกสู่ทางสาธารณะได้ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 อย่างไรก็ตามการใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะนั้น กฎหมายก็ให้เจ้าของที่ดินที่ใช้ทางนั้น จะต้องทำให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมรอบนั้นให้น้อยที่สุด และใช้ได้เท่าที่จำเป็น หากบางกรณีเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมรอบเมื่อใช้ทางแล้ว อาจจะต้องจ่ายค่าทดแทนเพื่อความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมรอบด้วยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกัน
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com 
***************************

6. สิทธิของการซื้อทรัพย์โดนสุจริตในท้องตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ได้ให้การคุ้มครองบุคคลที่ซื้อทรัพย์สินมาจากการขายทอดตลาด หรือซื้อทรัพย์สินจากท้องตลาดจากพ่อค้าที่ขายทรัพย์สินนั้นโดยสุจริต อาทิ ซื้อรถจากแหล่งขายรถที่ประกอบกิจการเป็นประจำโดยถูกต้องตามกฎหมาย เป็นต้น ในกรณีนี้ผู้ซื้อทรัพย์สินนั้นไม่ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่บุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริง ยกเว้นบุคคลที่เป็นเจ้าของนั้นจะยอมชดใช้ราคาที่ซื้อมามีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com 
************************

7. การสร้างที่อยู่อาศัยที่ที่ดินของคนอื่นโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุคคลอื่นโดยไม่สุจริต บุคคลนั้นจะต้องทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของที่ดิน เว้นแต่เจ้าของที่ดิน จะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ แต่เจ้าของที่ดินจะต้องใช้ราคาโรงเรือนหรือใช้ค่าที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะการสร้างโรงเรือนแล้วแต่จะเลือก ก็สามารถจะอธิบายได้ว่า หากไปสร้างโรงเรือน เช่น ไปสร้างบ้านในที่ดินของคนอื่น โดยรู้อยู่แล้วไม่ใช่ที่ดินของเรา เมื่อเจ้าของที่ดินเขารู้ในภายหลังเจ้าของที่ดินมีสิทธิ์ที่จะสั่งให้บุคคลที่ไปสร้างโรงเรือน รื้อถอนโรงเรือนที่ปลูกสร้างแล้วทำให้ที่ดินอยู่ในสภาพดังเดิม แต่หากว่าเจ้าของที่ดินต้องการให้โรงเรือนที่สร้างอยู่ในสภาพเดิม เจ้าของที่ดินจะต้องชดใช้เงินในส่วนราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้น เพราะการสร้างโรงเรือน ก็คือ เดิมราคาที่ดินหนึ่งล้านบาท เมื่อสร้างโรงเรือนในที่ดิน ที่ดินพร้อมโรงเรือนมีราคาหนึ่งล้านห้าแสนบาท เจ้าของที่ดินจะต้องใช้ราคาโรงเรือนนั้นในราคาห้าแสนบาท หากต้องการโรงเรือนให้คงอยู่ในที่ดิน สิทธิดังกล่าว แล้วแต่เจ้าของที่ดินจะเลือก ผู้ที่ไปสร้างโรงเรือนไม่มีสิทธิ์
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com 
******************************

8. บ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดินบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดิน โดยปกติจะต้องเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 144 โดยสภาพของบ้านถือเป็นจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น และเป็นสาระสำคัญแห่งทรัพย์นั้น แต่ก็มีข้อยกเว้นตามมาตรา146 บ้านหรือสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวหรือเจ้าของที่ดินอนุญาตให้ปลูกสร้างได้ ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบของที่ดินนั้น แต่ถ้าไปปลูกสร้างบ้านในที่ดินของคนอื่นโดยเจ้าของไม่ยินยอม บ้านนั้นถือว่าเป็นส่วนควบของที่ดินและเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินนั้นได้และอาจจะถือว่าเป็นการบุกรุกที่ดินของคนอื่นอีกกรณีหนึ่งด้วยหมวดกฎหมายว่าด้วยทรัพย์และทรัพย์สิน
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 
***************************

9. ความหมายของคำว่าทรัพย์หรือทรัพย์สินเกิดเป็นมนุษย์ก็อยากมีทรัพย์หรือทรัพย์สินกันทั้งนั้น แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจคำว่าทรัพย์และทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 บัญญัติหลักว่า ทรัพย์ หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง และมาตรา 138 ให้ความหมายว่า ทรัพย์สิน ก็คือ ทรัพย์ที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจเข้าถือเอาได้สรุปความหมายได้ว่า ทรัพย์สิน ก็คือ สิ่งที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างที่มนุษย์เข้ายึดถืออย่างเป็นเจ้าของซึ่งอาจมีราคาได้ เช่น ที่ดิน รถยนต์ ดินสอ ปากกา เป็นต้น สำหรับส่วนที่ไม่สามารถเข้ายึดถือได้ เช่น แสงแดด สายลม แม้จะมีคุณค่ามากมาย แต่ยังไม่ถือว่าเป็นทรัพย์หรือทรัพย์สินตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งหากมนุษย์รู้จักดัดแปลงแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานแล้วจัดเก็บพลังงานไว้ใช้ถือว่าเข้าครอบครองตัวพลังงานนั้น ตัวพลังงานดังกล่าวก็เป็นทรัพย์สินที่มีราคาและถือว่ามีเจ้าของเช่นกัน
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com   
***************************

10. สีของครุฑ เรื่องใกล้ตัวบางครั้งเราก็มองข้าม เฉกเช่น ครุฑบนเอกสารบนที่ดินที่มีอยู่ติดบ้าน โดยมีทั้งครุฑสีแดงครุฑสีเขียว และครุฑสีดำ ซึ่งครุฑแต่ละสีสื่อความหมายต่างกันในทางกฎหมาย ดังนี้
1) ครุฑสีแดง หมายถึง โฉนดที่ดิน (น.ส.4) ซึ่งสามารถซื้อ - ขาย - โอนได้ตามกฎหมาย ยกเว้น โฉนดหลังแดง ซึ่งจะมีข้อความระบุด้านหลัง ว่า “ห้ามโอน” ภายใน 5 - 10ปี
2) ครุฑสีเขียว หมายถึง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ซึ่งออกให้ในท้องที่ที่มีระวางภาพถ่ายทางอากาศ
3) ครุฑสีดำ หมายถึง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 และ น.ส.3 ข.) ซึ่งไม่มีระวางภาพถ่ายทางอากาศ
เมื่อทราบแล้ว รีบไปดูโฉนดของที่ดินบ้านท่านว่าเป็นครุฑสีอะไร เพราะแสดงออกว่าท่านมีสิทธิมากน้อยเพียงใดในผืนดินเหล่านั้น
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com   
***************************************

11. เจ้าหนี้เงินกู้ยึดโฉนดไว้ เอาคืนได้มั้ยการทำสัญญากู้ยืมเงินที่มีการทำหนังสือสัญญาลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ให้ยืมและผู้ยืม ซึ่งหนังสือสัญญานี้จะเขียนใส่กระดาษธรรมดาก็ไม่มีปัญหาประการใด และหากเจ้าหนี้นำเอาที่ดินของลูกหนี้มาจดจำนอง ซึ่งถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดก็สามารถยึดที่ดินแทนการชำระหนี้ได้ แต่หากลูกหนี้นำเอาแต่โฉนดที่ดินมาให้เจ้าหนี้ยึดไว้เท่านั้น กรณีนี้หากเจ้าหนี้ทำเพียงหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน และรับโฉนดที่ดินไว้แต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีผลเท่าเป็นการ “จำนำโฉนด” ซึ่งเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของลูกหนี้เท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการ “จำนอง” ซึ่งลูกหนี้อาจไปขอออกโฉนดใหม่ได้และโฉนดที่ดินไม่ได้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจใดๆ ที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ ดังนั้น อย่าลืมนำโฉนดไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิเช่นนั้นจะเป็นเพียง “จำนำโฉนด” นั่นเอง เพราะโฉนดที่ดิน คือ กระดาษ ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์อันจะจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 714 ที่บัญญัติให้การจำนองอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com 
***************************************

12. ซื้อที่ดิน สปก.ที่ดิน สปก. เป็นที่ดินที่รัฐยกให้เกษตรกรเพื่อใช้เป็นที่ดินทำกิน ไม่สามารถซื้อขายได้ แต่เป็นมรดกตกทอดได้ แต่สภาพความเป็นจริงที่ดิน สปก. หลายๆ พื้นที่มีการแอบซื้อขายกัน ทั้งนี้ พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 ระบุว่า ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะ ทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงภายในเขตปฎิรูปที่ดิน และหากมีการซื้อ - ขายที่ดิน สปก. ถือเป็นการกระทำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ซึ่งจะทำให้การซื้อขายนั้นเป็นโมฆะ อีกทั้งมาตรา 411 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังกำหนดผลต่อไปว่า ผู้ซื้อไม่อาจเรียกเงินคืนได้จากการชำระหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 
***************************************

13. ขายฝากที่ดินอย่างไร (ผู้ขาย) ไม่เสียเปรียบกฎหมายขายฝากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเมื่อปี 2562 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างคู่สัญญา เพื่อไม่ให้เอาเปรียบซึ่งกันและกันครับ เหตุที่มีการแก้กฎหมายเพราะมีข้อพิพาทขึ้นสู้ศาลเยอะซึ่งศาลก็จะพิจารณาและพิพากษาตามตัวบทกฎหมาย แต่เมื่อเห็นว่าเป็นปัญหาของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน สส.ก็จะนำปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเข้าสู้สภาผู้แทน ผ่านกระบวนการต่างจนมีการแก้ไขเป็น พรบ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรหรือที่อยู่อาศัย พศ.2562 สรุปได้ใจความตามนี้
• สัญญาขายฝากต้องมีระยะเวลาไถ่ถอน 1-10 ปี• ผู้ขายฝากสามารถใช้ประโยชน์หรืออยู่ได้ถึงวันสิ้นสุดการไถ่• การขยายเวลาไถ่ถอนต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย• หากผู้ซื้อฝากงอแงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ให้ผู้ขายฝากเอาเงินไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินทั่วประเทศ• ขยายเวลาไถ่ถอนอัตโนมัติ ถ้าผู้ซื้อฝากไม่ส่งหนังสือแจ้งเป็นไปรษณีย์ตอบรับถึงการไถ่ถอนก่อนวันสิ้นสุดการไถ่ถอนไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน• ไถ่ถอนหรือวางเงินแล้วให้ถือว่ากรรมสิทธิ์โอนกลับมาเป็นของผู้ขายฝากทันที ต้องไถ่ถอนภายในกำหนดระยะเวลาเท่านั้น• ไถ่ถอนเกินเวลาแต่อยู่ภายใน 6 เดือน ให้ผู้ขายฝากรับรองว่าผู้ซื้อฝากมิได้ทำหนังสือแจ้งผู้ขายฝากเรื่องวันครบกำหนดมาจดทะเบียนไถ่ถอนด้วย
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 
***************************************

14. หมุดเขตเดินได้“อสังหาริมทรัพย์" ตามความเข้าใจของหลายท่าน หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งตามความหมายนั้นถูกต้องอย่างแน่แท้ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะที่ดินนั้น มักจะยืดได้ ขยายได้หรือเล็กลงได้ อันมาจากสาเหตุ “หมุดที่ดินเดินได้” จากบุคคลบางกลุ่มที่เคลื่อนย้าย ทำลาย หรือแม้กระทั่งถอนจนนำมาสู่การทะเลาะเบาะแว้งและคดีความต่างๆ ทั้งนี้ทั้งนี้ พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 67 และมาตรา 109 ได้กำหนดข้อห้ามไม่ให้ผู้ใดนอกจากพนักงานเจ้าหน้าที่ทำลายดัดแปลง เคลื่อนย้าย ถอดถอนหลักหมายเขต หรือหมุดหลักฐานเพื่อการแผนที่นั้นไปจากที่เดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com 
***************************************

15. จำนองที่ดินเป็นหลักประกันหนี้
ในกรณีที่มีการให้ยืมเงินเป็นจำนวนมากในระดับร้อยล้านหรือพันล้าน การจะนำทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น แหวน นาฬิกา คงมีมูลค่าไม่พอชำระหนี้ ทั้งนี้ ในการให้กู้ยืมเงินในจำนวนมากนั้น นอกจากจะต้องมีหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแล้ว ยังต้องให้ลูกหนี้นำเอาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินมาจำนองประกันหนี้ โดยต้องนำโฉนดไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อำเภอ หรือสำนักงานที่ดิน เมื่อมีที่ดินของลูกหนี้มาเป็นหลักประกันแล้ว เจ้าหนี้ก็สามารถเบาใจได้ว่าหนี้จะไม่สูญเปล่า การจำนองคือ หลักประกันหนี้ชั้นเยี่ยม ต่อให้ลูกหนี้ขายที่ดินที่จำนอง เจ้าหนี้ก็ตามไปบังคับยึดมาชำระหนี้ได้ และที่ดินคือทรัพย์สินที่มีแต่ราคาจะเพิ่มขึ้น เหตุนี้ท่านจึงกลายเป็นเจ้าหนี้ชั้นเยี่ยม มั่นคง ปลอดภัยที่สุดทั้งนี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 ที่บัญญัติไว้ว่า การจํานองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จํานองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจํานอง เป็นประกันการชําระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจํานองและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 714 ที่บัญญัติให้การจำนองอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com   
***************************************  

2. รู้กฎหมายอาวุธปืน

  กฎหมายเรื่องปืน

◦ 1. ควงปืนไปในเขตชุมชน

◦ 2. พกปืนต้องมีมบอนุญาตพกปืนนะครับ

◦ 3. ปืนหาย ต้องไปแจ้งความนะครับ

◦ 4. ปืนมีไว้เพื่อป้องกันตัว

◦ 5. เสือปืนไว

◦ 6. ปืนเถื่อน

◦ 7. จี้ด้วยปืนปลอม

◦ 8. ยิงปืนขึ้นฟ้า

◦ 9. พกปืน-ยิงปืน

1. ควงปืนไปในเขตชุมชนอาวุธปืนเป็นสิ่งหนึ่งที่กฎหมายควบคุมอย่างเข้มงวดในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะซื้อ มีไว้ในครอบครอง ตลอดจนการพกพาไปในสถานที่ต่างๆ ด้วย เนื่องจากอาจเกิดเหตุที่เป็นภัยกับผู้อื่นได้ แม้ว่าเราจะมีทั้งใบอนุญาตให้มีปืน และใบอนุญาตให้พกปืนแล้วก็ตาม แต่กฎหมายก็ยังมีข้อห้ามไว้สำหรับการนำอาวุธปืนออกมาพกอย่างเปิดเผย ในที่ชุมนุมชน อย่างเช่น งานประเพณี มหรสพ หรืออื่น ซึ่งอาจทำให้เกิด ความหวาดกลัวขึ้นได้ ยกเว้นแต่จะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย หรือรักษาสินทรัพย์ของทางรัฐ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรค 2 ประกอบมาตรา 72 ทวิ วรรค 2 กำหนดโทษของผู้ที่มิใช้เจ้าพนักงานหรือผู้ที่กฎหมายอนุญาตแต่พกอาวุธปืน อย่างเปิดเผยในสาธารณะว่า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com 

******************************


2. พกปืนต้องมีมบอนุญาตพกปืนนะครับแม้ว่าคนที่มีครอบครองปืน จะได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ได้ตาม กฎหมายแล้ว แต่กฎหมายก็ไม่อนุญาต ให้พกปืนออกไปนอกสถานที่ได้ อย่างเสรี เพราะว่าอาจก่ออันตราย ต่อบุคคลอื่นขึ้นได้ การจะนำปืนติดตัวไปนั้นจำเป็น จะต้องมีใบพกพาใบพกพาทั่วราชอาณาจักร หรือในเขตจังหวัด (ป.12) ซึ่งผู้ใด ประสงค์มีใบพกพาต้องยื่นคำร้อง ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และผู้ได้รับใบพกปืนจำเป็นต้องมี คุณสมบัติตามระเบียบที่กระทรวง มหาดไทยกำหนด ตัวอย่างเช่น เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ควบคุมทรัพย์สินของรัฐบาล ข้าราชการ ตั้งแต่หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามหรือ การปฏิบัติงานในการฝ่าอันตราย อย่างไรก็ ตามสำหรั บผู้ครอบครองปืน ที่มิใช่เจ้าหน้าที่ที่มีใบอนุญาตพกปืน แต่มีเหตุเร่งด่วนตามสมควรแก่เหตุ เช่น คุณสมศักดิ์เพิ่งขายสินค้าได้เงิน มาหลายแสนบาทและจำเป็นต้อง นำไปฝากธนาคารซึ่งอยู่ห่างไกล อันเป็นเส้นทางที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม จึงพกปืนที่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย โดยไม่มีใบอนุญาตพกพา การกระทำดังกล่าวอาจอ้างได้ว่าเพราะเป็น ความจำเป็นและเร่งด่วนแต่หากใครฝ่าฝืนหรือพกปืน โดยไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว ถือว่ามี ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 72 ทวิ วรรค 2 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com 
******************************

3. ปืนหาย ต้องไปแจ้งความเมื่อเรามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองแล้ว นอกจากจะต้องใช้อย่างรับผิดชอบแล้ว ก็จะต้องเก็บรักษาอาวุธปืนไว้ในที่ปลอดภัยและแน่นหนา นอกจากนี้ผู้ที่มีอาวุธปืน ไว้ในครอบครองก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ให้เข้าใจถึงหน้าที่ และข้อผูกพันตามกฎหมายให้ดี เพราะกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เมื่อสถานการณ์หนึ่งๆ เกิดขึ้นหากว่านาย ก.ครอบครองอาวุธปืนอย่างถูกกฎหมาย แต่อยู่มาวันหนึ่งก็ได้พบว่า อาวุธปืนนั้นหายไป หาเท่าไรก็ไม่พบ สิ่งที่จะต้องทำนอกเหนือจากไปแจ้งความ เจ้าหน้าที่ตำรวจว่าทรัพย์สินซึ่งคืออาวุธปืนสูญหายแล้ว ก็ยังต้องไปแจ้งเหตุ และส่งมอบใบอนุญาตครอบครองอาวุธปืนนั้นต่อนายทะเบียนในท้องที่ ซึ่งตนอยู่อาศัย หรือท้องที่ที่ปืนนั้นสูญหาย ทั้งนี้ นาย ก.จะต้องดำเนินการภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ทราบเรื่อง ถ้าหาก ไม่ปฏิบัติตาม จะมีความผิดตาม มาตรา 21 และรับโทษตามมาตรา 83 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com 
*****************************

4. ปืนมีไว้เพื่อป้องกันตัวสังคมปัจจุบันที่เราไว้วางใจ คนแปลกหน้าไม่ได้ ไม่รู้ว่าเป็นผู้ร้าย หรือผู้ดี ทำให้บางครั้งเราก็อยากจะมี อาวุธไว้ป้องกันตัวเอง คนในครอบครัว และทรัพย์สินของเรา ให้ปลอดจาก ผู้ที่มามุ่งร้าย โดยเฉพาะอาวุธปืน อย่างไรก็ตาม อาวุธปืนเป็นสิ่งที่ สามารถทำอันตรายผู้อื่นให้บาดเจ็บ สาหัสหรือถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและสุขสงบ ของสังคม จึงต้องมีกฎหมาย มาควบคุมการซื้อขาย ครอบครอง และการใช้อาวุธปืนอย่างเข้มงวดปืนถือเป็นอาวุธที่อาจเป็นอันตรายได้ จึงต้องมีกฎหมายมาเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับคน ในสังคม ดังนั้นหากต้องการมีอาวุธปืน ไว้ป้องกันตัว ต้องแจ้งจดทะเบียนต่อ เจ้าหน้าที่พนักงานตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7 ทั้งนี้ หากฝ่าฝืน ไม่แจ้งเจ้าหน้าที่พนักงาน ต้องระวางโทษจำคุก 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000- 20,000 บาท ตามมาตรา 72 วรรคแรก
ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่เวปไซต์นี้ www.ใกล้คุณ.com 
*****************************

5. เสือปืนไวสุภาษิตโบราณกล่าวไว้ว่า “เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้” น่าจะใช้ได้ดีกับพฤติกรรมของวัยรุ่นบางกลุ่มในสมัยนี้ที่มีการจับกลุ่มทะเลาะวิวาทตามที่เห็นจากสื่อต่างๆ โดยเฉพาะพวกเสือปืนไวหรือชอบชักปืน โชว์อาวุธในการต่อสู้ เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 379 กล่าวไว้ว่า “ผู้ใดชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ซึ่งอาวุธในที่นี้หมายถึง อาวุธทุกชนิด ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ เช่น คัทเตอร์ มีดพับ และรวมไปถึงอาวุธโดยสภาพ เช่น ดาบ หอก ปืน และจะผิดตามมาตรา 379 ได้ต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ดังนี้ 1) ชักหรือโชว์อาวุธ 2) เป็นสถานการณ์ สมัครใจทะเลาะวิวาทกันทั้ง 2 ฝ่าย
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com 
******************************

6. ปืนเถื่อนกฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน ถือเป็นข้อกฎหมายที่ประชาชนที่มีอาวุธปืนมักทำผิดได้บ่อย เนื่องจากมี หลายข้อหาเกี่ยวพันกัน ซึ่งหากบุคคลใดมีอาวุธปืนไว้ในการครอบครองแต่เป็นอาวุธปืนที่ไม่มีทะเบียน หรือ ที่เรียกว่า ‘ปืนเถื่อน’ ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี - 10ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 - 20,000 บาท ซึ่งเป็นไป ตามมาตรา 7 ประกอบมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490
7. จี้ด้วยปืนปลอมโจรผู้ร้ายบางคนใช้จิตวิทยาขู่ให้คนกลัว โดยการปล้นจี้โดยไม่ได้ใช้มีด หรือปืนจริง แต่กลับใช้อาวุธเทียม หรืออาวุธปลอมไปก่ออาชญากรรม ซึ่งกรณีนี้จะมีความผิดอย่างไรนั้น กฎหมายสามัญประจำบ้านมีคำตอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 ระบุว่า ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือ จำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือ จำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากเป็นการกระทำโดยมีอาวุธ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตามมาตรา 309 วรรค 2ซึ่งศาลเคยตัดสินในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2533 ว่า การที่จำเลยใช้ลูกกุญแจจี้ที่เอวผู้เสียหายแล้วดึงปากกาเขียนแบบกับดินสอ ซึ่งเหน็บอยู่ที่สมุดของผู้เสียหายไปนั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ลูกกุญแจดังกล่าวอย่างอาวุธ และมีเจตนาให้ผู้เสียหายเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าขัดขืน ถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหาย ให้จำยอมตามความประสงค์ของจำเลย โดยทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพโดยใช้อาวุธ
มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com 
************************

7. ยิงปืนขึ้นฟ้าเชื่อว่าหลายๆ ท่าน คงจะเห็นภาพจนชินตากับการยิงปืนขึ้นฟ้าในช่วงเทศกาลต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ระบุว่า ผู้ใดยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมืองหมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับนอกจากนี้ ศาลฎีกายังเคยตัดสินในคำพิพากษาฎีกา ที่ 3452/2546 ว่าจำเลยยิงปืนขึ้นฟ้าหนึ่งนัด แม้จะเป็นเพียงการทดสอบว่าอาวุธปืนของกลางนั้นจะยังใช้ได้อยู่หรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในหมู่บ้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 แล้ว
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com 
*****************************

8. พกปืน - ยิงปืนการมีใบอนุญาตครอบครองปืนและลูกกระสุนปืนนั้น จำกัดเพียงการอนุญาตมีไว้เพื่อครอบครองเท่านั้น แต่การพกพาไปไหนมาไหนไม่สามารถทำได้ตามอำเภอใจ การจะยิงปืนก็เช่นกัน ทั้งนี้ หากพกพาอาวุธปืนโดยไม่มีใบอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา8 ทวิวรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 72 ทวิวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490อีกทั้งในตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ระบุว่า การยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับดังนั้น ใครที่มีใบอนุญาตพกปืนก็ยังต้องระวังว่า การพกปืนไปไหนมาไหน หรือการยิงปืนโดยไม่มีเหตุผล อันสมควรอาจติดคุกหรือถูกปรับได้
อยู่กรุงเทพ ปรึกษาทนายกรุงเทพ 099 464 4445 ค้นหาทนายความได้ที่เวปไซต์นี้: www.ทนายกรุงเทพ.com 
*****************************

9. ปืนผิดมือนอกจากการที่มีอาวุธไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่จะผิดกฎหมายแล้ว การที่มีอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตแต่เป็นของผู้อื่นไว้ในครอบครอง หรือที่เรียกว่า ‘ปืนผิดมือ’ ถือเป็นความผิดเช่นกัน ซึ่งต้องระวางโทษจำคุก 6 เดือน – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 7 ประกอบมาตรา 72 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490นอกจากนี้ การมีเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต (กระสุนไม่ถูกขนาดกับปืนที่ได้รับอนุญาต) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 8ประกอบมาตรา 72 ทวิวรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com 
**************************  

รู้จักทนายไม่เสียเปรียบ